มาจะกล่าวบทไป.....

ผมมีความนิยมชมชอบในเรื่องไอที และเทคโนโลยี และก็มีอะไรเยอะแยะที่อยากจะนำมาแบ่งปันให้ทุกๆ คน ซึ่งก็หวังว่าจะสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คน อาจจะยังใหม่อยู่ในเรื่องการเขียนบล๊อก แต่สัญญาครับว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การบริหารต้นทุนอาหาร (Food cost)

ในการธุรกิจใดๆก็ตาม จะต้องกระทำให้เกิดกำไรอย่างสูงสุด ถ้าหน่วยงานองค์กรณ์ใดๆ ที่ทำหรือไม่แสวงผลกำไร (Non Profit Organization) ก็คงจะเป็นมูลนิธิ หรือสมาคม เพราะฉะนั้นก็คือการลงทุนที่หวังผลกำไร

หลักการของการคิดราคาขายและกำไรง่ายๆก็คือ

ต้นทุน + กำไร = ราคาขาย

ดังนั้น ในแต่ละองค์กร จะกำไรมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการบริหารลักษณะของกิจการแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการกำไรที่มาก หรือกำไรที่สูงที่สุด เราก็จะต้องมีวิธีการจัดการบริหารต้นทุนที่ดี

ประเภทของต้นทุน มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

FIXED COST

VARIABLE COST

Fixed Cost หรือต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่จะต้องจ่ายตลอด ไม่ว่าจะขายได้มาก หรือขายได้น้อยก็ตาม ต้นทุนประเภทนี้จะเป็นต้นทุนด้านบริหารองค์กร เช่น เงินเดือนฝ่ายบริการ พนักงาน สวัสดิการ ภาษี คาเช่า ค่าประกัน ค่าเสื่อม ฯลฯ เป็นต้น

Variable Cost หรือต้นทุนแปรผัน ส่วนนี้จะเป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับยอดขาย สัดส่วนของต้นทุนจะสูงก็ต่อเมื่อยอดขายสูงและเปลี่ยนแปลงตามสภาพกันไป ซึ่งโดยหลักของต้นทุนประเภทนี้ ในโรงแรมก็จะมีที่เราเรียกว่า Cost of Sale หรือต้นทุนขาย ซึ่งมีอยู่ 2 ตัว

  • Food cost ต้นทุนอาหาร
  • Beverage cost ต้นทุนเครื่องดื่ม

ในต้นทุนทั้งส่วนนี้ โรงแรมจะให้ความสำคัญกับ Food cost มากกว่า Beverage cost เนื่องด้วยรายได้ของอาหารจะมากกว่า เครื่องดื่ม (อัตราส่วนเฉลี่ยประมาณ 70 : 30) ดังนั้นการบริหารต้นทุนของอาหารจึงสำคัญมาก

โดยทั่วไปโรงแรมมักจะตั้งมาตรฐานของ Food cost อยู่ที่ระหว่าง 33% -40% และ Beverage cost อยู่ที่ระหว่าง 25%-30% ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรฐานลักษณะของโรงแรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบที่มาใช้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม บางโรงแรมที่มีมาตรฐานสูงและใช้ของราคาแพง อาจจะมีต้นทุนที่สูงมากในขณะเดียวกันในอีกโรงแรมซึ่งมีมาตรฐานต่ำกว่า และใช้ของที่เป็นของท้องถิ่น ราคามไม่สูงมาก ก็จะทำให้ต้นทุนต่ำกว่าอีกโรงแรมซึ่งการบริหารต้นทุนนี้จะเป็นหน้าที่หลักของ Executive chef ในแต่ละโรงแรมที่จะต้องควบคุมต้นทนอาหารในแต่ละวัน

หลักการคิดต้นทุนง่ายๆ

โจทย์ ข้าวผัดกุ้ง 1 จาน ราคาขายอยู่ที่ 120 บาท จงหาต้นทุนของอาหาร

เราจะต้องมีการจัดการทำ Recipe ขึ้นมาเพื่อแจกแจงรายละเอียดวัตถุดิบและวิธีการประกอบการ และเมื่อแจกแจงรายละเอียดวัตถุดิบแล้ว เราจะต้องหาต้นทุนวัตถุดิบแต่ละตัว หรือมาสรุปว่า ของที่นำมาประกอบทำเป็น ข้าวผัดกุ้ง 1 จาน นั้น รวมแล้วเป็นเท่าไหร่ ดังตารางต่อไปนี้

Recipe ข้าวผัดกุ้ง





รายการที่

วัตถุดิบ

หน่วย

จำนวน

ต้นทุน

ราคาต่อหน่วย(ก.ก/บาท)





1

ข้าว

กรัม

100

3.3

33





2

กุ้ง


60

12.60

210





3

หัวหอมใหญ่

กรัม

10

0.15

15





4

ไข่

ฟอง

2

4

2





5

แตงกวา

กรัม

10

0.20

20





6

ต้นหอม

กรัม

10

0.27

27





7

มะนาว

ลูก

0.5

1

2





8

น้ำตาล

ช้อนชา

2







9

เกลือ

ช้อนชา

0.5







10

ซีอิ้วขาว

ช้อนชา

1







11

น้ำมันพืช

ช้อนชา

4









รวม

21.25








เครื่องปรุง 10%

2.15








รวมทั้งหมด

23.67








ราคาขาย

120








ต้นทุน

19.72%


จากตารางด้านบนเราจะเห็นว่าใน Recipe ได้แจกแจงรายละเอียดของส่วนผสม ส่วนประกอบ เครื่องปรุงของอาหารในจานไว้ ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องมาคำนวนออกมาเป็นราคาต่อหน่วยของแต่ละชนิด แต่จะเห็นว่าในส่วนที่เป็นเครื่องปรุงเช่น เกลือ น้ำตาล น้ำมัน ฯลฯ (รายการที่ 8-11) เหล่านี้ มักจะไม่นำมาจำแนกเนื่องจากเป็นหน่วยที่เล็กมาก แต่มักจะใช้วิธีคิดคำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 5% - 10 % แล้วแต่มาตรฐาน โดยนำไปรวมกับผลรวม ของส่วนผสม หลังจากนั้นจึงนำราคาต้นทุนรวมทั้งหมด ไปคิดเป็นต้นทุนเปอร์เซ็นต์ โดยวิธีคิดคำนวน เป็นสมการดังนี้

ต้นทุนอาหาร คูณด้วย 100 แล้วหารด้วยราคาขาย = ต้นทุน %

เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าต้นทุนของข้าวผัดที่ขาย 120 บาท นั้น มีต้นทุนอยู่ที่ 19.72%

ตัวอย่างสูตรที่นำไปใช้ในการคิดคำนวณต้นทุน เช่น

เมื่อต้องการทราบว่า อาหาร และ เครื่องดื่ม ที่เราขายอยู่นั้น มีต้นทุน % อยู่เท่าไหร่ ใช้สูตร

ต้นทุนอาหาร คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ยอดขายอาหาร = % ของต้นทุนอาหาร

ต้นทุนเครื่องดื่ม คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ยอดขายเครื่องดื่ม = % ของต้นทุนเครื่องดื่ม

สมมุติว่าร้านอาหารให้ต้นทุนในการผลิต 96,687 บาท และมียอดขาย 276,250 บาท ฉะนั้นร้านอาหารจะมีต้นทุน % ต้นทุนอาหารเท่ากับ 34.99% โดยอาศัยการคำนวณคือ

96,687 X 100 = 34.99%
276,250

หมายถึง รายได้ทุกๆ 1 บาท ใช้ทุน 35 สตางค์ หรือต้นทุนอาหารทุก 1 บาท เท่ากับ 35 สตางค์

จากสูตรเดียวกันนี้ เราสามารถปรับเปลี่ยนสูตรตามหลักการคำนวณ คือ

ถ้าเราทำต้นทุนของอาหารแล้ว และกำหนด % ของต้นทุนไว้แล้ว และต้องการตั้งราคาขาย ก็สามารถใช้สูตร

ต้นทุน = ราคาขาย (ยอดขาย)
% ของต้นทุน



และถ้าเรากำหนดราคาขาย พร้อมกับกำหนด % ของต้นทุนไว้แล้ว และต้องการทราบว่าจะต้องควบคุมต้นทุนของวัตถุดิบอยู่ในจำนวนเงินเท่าใด ก็ใช้สูตรนี้

ราคาขาย (ยอดขาย) X เปอร์เซ็นต์ (%) ของต้นทุน = ต้นทุน

สูตรนี้จะเป็นสูตรที่แนะนำ ให้ใช้เวลาที่เรามีงานจัดเลี้ยง ที่เราจะทราบจำนวนแขก และราคาต่อหัวที่แน่นอน ซึ่งเราจะทราบรายได้ที่ชัดเจน และในขณะเดียวกันเราก็ทราบถึง % ต้นทุนอาหารที่ต้องปฏิบัติ เราก็จะทราบว่าของวัตถุดิบที่จะต้องจัดเตรียมควรเป็นเท่าใด

ยกตัวอย่าง เช่นมีงานเลี้ยงอาหารค่ำแขก 200 คนๆละ 500 บาท ฉะนั้นจะมีรายได้ 10,000 บาท และเราต้องการควบคุม % ต้นทุนอาหารไม่ให้เกิน 25% ก็อาศัยการคำนวณดังนี้

รายได้ 10,000 X ต้นทุน 25% = 2,500 บาท

ดั้งนั้นเราจะรู้ว่าควรสั่งซื้อวัตถุดิบ หรือเบิกของจากสโตร์ ไม่ควรเกิน 2,500 บาท


RECIPE

เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำอาหารมืออาชีพทุกคน เพราะใน Recipe จะบอกรายละเอียดทั้งหมดของการประกอบอาหารขึ้นมา 1 ชนิด ดังนั้นมาตรฐานของ Recipe จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆดังนี้

  • ชื่อของอาหาร
  • รหัสของ Recipe
  • รูปภาพที่จะทำให้ผู้ปรุงอาหารชนิดนั้นๆ ได้เห็นถึงหน้าตา และการจัดการ รวมถึงภาชนะที่ใส่
  • ส่วนผสมและเครื่องปรุง
  • จำนวนหน่วยที่จะบ่งบอกถึงจำนวนหน่วย ชนิดของหน่วย กรัม ขีด กิโลกรัม ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ฟอง ฯลฯ
  • วิธีการประกอบที่จะบ่งบอกขั้นตอนวิธีการปรุง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงลงจานพร้อมบริการ
  • ต้นทุนที่จะแยกแยะ ราคาวัตถุดิบต่อหน่วย
Recipe จะเป็นตัวบ่งบอกต้นทุนของอาหารแต่ละชนิด ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการควบคุมต้นทุน เพราะอาหารแต่ละชนิดจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป อาจจะมีผลต่อการตั้งราคาของอาหารชนิดนั้นๆ เพราะการตั้งราคาขายมิได้อิงอยู่กับต้นทุนอาหารเดียวกันเสมอ ราคาอาหารอาจถูกกำหนดขึ้นจากต้นทุน และความเหมะสมของลักษณะระดับและประเภทของร้านอาหาร และลูกค้าด้วย อาหารบางชนิดอาจจจะจำเป็นต้องมีต้นทุนที่สูง เพราะเป็นอาหารที่เป็นที่รู้จักและต้องมีประจำห้องอาหาร เช่นหูฉลามที่มีต้นทุนที่สูงมาก (กิโลกรัมละ 6,000 บาท) ซึ่งต้องมีประจำในการรายการอาหารของห้องอาหารจีน แต่เราก็อาจจะได้อาหารชนิดอื่นเข้ามาช่วยเฉลี่ย ให้ต้นทุนต่ำลง เช่น ผัดผัก ซึ่งหลักการประเภทนี้ จะอยู่ในการวิเคราะห์ในอีกลักษณะหนึ่งที่เราเรียกว่า MENU ENGINEERING ที่มีการหาต้นทุน ยอดขายของอาหารแต่ละชนิดมาจัดกลุ่ม (Rate) ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆคือ
  • STAR หรือบางครั้งเรียกว่า WINNER เป็นอาหารของที่นิยมมากของลูกค้า และมีต้นทุนต่ำ กำไรสูง อาหารนี้จะต้องอยู่ในรายการพิเศษ หรือรายการแนะนำห้องอาหารนั้นๆ
  • PLOW HORSE หรือบางครั้งเรียกว่า RUNNER เป็นอาหารที่ขายดีในรายการอาหาร แต่มีต้นทุนสูง กำไรน้อย
  • PUZZLES หรือบางครั้งเรียกว่า SLEEPER เป็นรายการอาหารที่ต้นทุนต่ำ กำไรดี แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม และขายยาก
  • DOGS หรือบางครั้งเรียกว่า LOSER เป็นรายการอาหารที่กำไรน้อย อีกทั้งยังขายไม่ดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารู้จักวิธีการคิดต้นทุนของอาหารพื้นฐานจากเบื้องต้นแล้ว สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือ WASTE COST เพราะหลักการที่โดยทั่วๆไป เวลาคิดต้นทุนคือ มักจะนำเอาราคาที่ซื้อจากตลาดหรือร้านค้า โดยเฉพาะของสดจำพวกผัก เนื้อสัตว์ต่างๆ มักคิดคำนวนโดยตรง ซึ่งมักจะมองข้ามเรื่อง Waste ยกตัวอย่างเช่น ผักกาดแก้วที่ซื้อมาจากตลาด 1 กิโลกรัม หรือ 1000 กรัม มูลค่า 55 บาท เมื่อนำเข้าสู่ครัว ที่ต้องมีการเด็ดใบที่ช้ำ ขาด เน่าออก ซึ่งอาจจะถูกตัดออกไปอีกประมาณ 100 กรัม ซึ่งมูลค่าของ 55 บาท ที่ซื้อมา จากต้นทาง ก็จะได้ผักกาดแก้วที่นำไปบริการที่ 900 กรัม และเมื่อเรานำมาคำนวนกลับก็จะกลับเป็นว่า ผักกาดแก้ว มีต้นทุนที่แท้จริงคือ 61.11 บาท ซึ่งถ้าเราวางต้นทุนของอาหารโดยมองข้ามสิ่งเล็กน้อยไป ในหลายรายการอาหารที่มีอยู่ ก็จะมีผลให้ต้นทุนที่เราควบคุมนั้นผิดพลาดไปได้ และก็จะทำให้เราสามารถคิดในอีกทางหนึ่งว่าของที่เราสูญเสียต่างๆนั้น มาจากสาเหตุใด ถ้าของที่รับมามักจะมี Waste มาก เราก็จะได้พิจารณาให้ทางร้านปรับปรุงให้ลดความสูญสียน้อยลง เพื่อคุ้มค่าแก่เงินที่เราจ่ายไป และในภายในครัวเราก็จะสามารถพิจารณาว่าพวก waste เหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ส่วนอื่น อาทิเช่น แปรรูป หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างไร

จากรายละเอียดขั้นต้น เราก็คงจะทราบและเข้าใจถึงการคำนวนต้นทุนของอาหารแต่ละชนิด ที่จะมีส่วนในการมองเห็นภาพใหญ่ ภายในรายการอาหารทั้งหมด แต่นี้เป็นเพียงวิธีการควบคุมในเบื้องต้นเท่านั้น

หลักการคิดคำนวนต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรม ไม่ได้นำเอารายการอาหารของแต่ละตัว และต้นทุนอาหารแต่ละตัว มาคิดคำนวน แต่จะใช้วิธีการคิดคำนวนจากภาพใหญ่ คือนำเอารายได้ของอาหาร มาคิดคำนวนกับของที่สั่งซื้อจากตลาด MARKET LIST รวมกับของที่เบิกจากสโตร์ STORE REQUISITION ในแต่ละวัน และจัดทำเป็น DAILY COST โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของปฏิทินไปเรื่อยๆ เช่น

  • วันที่ 1 รายได้ 120,000 บาท ซื้อของจากตลาดและเบิกของจากสโตร์ 60,000 บาท ฉะนั้น Daily cost ของวันที่ 1 จะเป็น 50%
  • และพอวันต่อมาและวันต่อไป ก็จะคำนวนรายได้รวมตั้งแต่วันแรกของปฏิทิน ที่เรียกว่า MONTH TO DATE – MTD. เพราะฉะนั้นถ้าถึงวันที่ 15 รายได้ MTD อยู่ที่ 1,650,000.- ซื้อของตลาดและเบิกของสโตร์ MTD 580,000 เราก็จะมี DAILY COST – MTD อยู่ที่ 35.15%
  • ดังนั้น เราควรจะระมัดระวัง และต้องเริ่มดู Daily Cost ว่าอยู่ในเกณฑ์ควบคุมหรือไม่ เมื่อเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ของปฏิทิน ซึ่งถ้าพบว่าสูง ก็อาจจะเริ่มดูว่ารายได้อนาคตจะสูงขึ้น หรือต่ำลง ถ้าต่ำลงก็ต้องสั่งของและเบิกของให้น้อยลง และตรวจตราว่าในห้องเก็บของ ตู้แช่ ห้องเย็น ห้องแช่ของต่าง มีของสต๊อกมากเพียงใด และการหมุนเวียนของที่สต๊อกเป็นอย่างไร อย่าลืมว่าของเก็บไว้นาน มีโอกาสเสีย และอย่างไรก็สู้ของสดไม่ได้แน่นอน
  • และจะคิดคำนวน MTD ไปเรื่อยๆ จึงถึงวันสิ้นเดือนปฏิทิน ทางฝ่ายควบคุมต้นทุน ก็จะมีการตรวจนับของคงคลัง (Inventory) เข้าตรวจเช็คยอดคงค้างของครัวว่ามีมูลค่าเท่าใด ซึ่งจะนำยอดนี้ไปหักล้าง กับยอด MTD สั่งซื้อของและเบิกสโตร์ และยอดนี้จะเรียกว่า Closing Inventory เพิ่อนำไปคิดคำนวนต่อไปในเรื่องของ Cost board

บทสรุป

เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าการบริหารต้นทุนจริงแล้ว มีขั้นตอนที่ซับซ้อนอยู่มากมาย เพียงแต่ถ้าเข้าใจที่มาของต้นทุน การคิดคำนวน การควบคุม ก็จะเห็นว่าไม่ได้ยากเกินไป ถ้าเราเริ่มได้ดี โดยจัดทำ Recipe ของรายการอาหารในทุกเมนู เราก็จะมองเห็นว่าต้นทุนในแต่ละรายการอาหาร แต่ละตัวควรจะเป็นเท่าใด และเมื่อเวลาปฏิบัติเราก็ต้องคอยดูรายได้ และพยากรณ์รายได้ที่อ้างอิงจากตัวเลขของลูกค้าภายในโรงแรมอันจะทำให้เราสามารถควบคุมการสั่งซื้อของจากตลาด และการเบิกของจากสโตร์ในแต่ละวัน และถ้าเราสามารถเข้าไปดูในรายละเอียดมากขึ้น ในรายละเอียดของที่สูญเสีย (Waste) และทำให้ของสูญเสียน้อยที่สุด เพื่อคุ้มค่าเงินที่จ่ายไป และเมื่อเราได้รับรายงานต้นทุนแต่ละวัน เราก็จะสามารถควบคุมตัวเลขต้นทุนให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ตามนโยบายของโรงแรม แต่จะต้องพึงคำนึงถึงเสมอว่าจะต้องไม่กระทบกับการบริการแก่ลูกค้า จะกลายเป็นได้ไม่เท่าเสีย

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

มารยาทการเข้าสังคม

จากประสปการณ์การทำงานด้านโรงแรมมากว่า 20 ปีของผม ซึ่งแรกๆ เราก็ไม่เข้าใจวิธีการทานอาหารแบบฝรั่งเท่าไหร่ และมักจะตกใจว่าทำไมบนโต๊ะถึงต้องมีมีดแสะส้อม ช้อนแก้วอะไร ต่อมิอะไรอีกหลากหลาย จนงงว่าจะเริ่มจากอะไรก่อนดี และระยะหลังผมก็ได้รับเกรียติจากโรงเรียน วิทยาลัย และมหาลัยวิทยาลัยหลายแห่ง ให้ไปเป็นวิทยากรพิเศษเพื่อถ่ายทอด ความรู้และความเข้าใจในเรื่องธรรมเนียมร่วมโต๊ะในสังคม
ก็เลยคิดว่าบทความของผมน่าจะเป็นประโยชน์ ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้บ้าง

การเชิญแขกมารับประทานอาหารเป็นประเพณีที่มีอยู่ในเกือบทุกอารยะธรรม นอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความมีอัธยาศัยไมตรีแล้ว ยังถือว่าเป็นการให้เกียรติแก่แขกผู้รับเชิญด้วย ในบางโอกาสเป็นเครื่องหมายของการประกาศและการเฉลิมฉลองกิจกรรมที่สำคัญด้วย ในบางโอกาสการปฏิเสธงานเลี้ยงอาหารถือเป็นการแสดงความดูถูกดูหมิ่นเจ้าภาพหรือผู้เป็นเจ้าของบ้าน บางกรณีถึงกับกลายเป็นชนวนเหตุของสงครามก็เคยปรากฏมาแล้ว

มารยาทในการรับประทานอาหารที่ถือเป็นมาตรฐานสากลมีที่มาจากประเทศยุโรป และเป็นที่ยอมรับมาปฏิบัติกันทั่วไปในอารยประเทศ และถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนประณีต ที่เราทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อที่จะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด ไม่ต้องไปนั่งระมัดระวังจนตัวเกร็งจนไม่รู้ว่าอาหารที่รับประทานไปนั้นอร่อยหรือไม่ หรือมีความรู้สึกว่าต้องไปนั่งทนทุกข์ทรมานภาวนาว่าเมื่อไรงานเลี้ยงจะเลิกเสียที

มารยาททั้งปวงนั้นต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกฝนอยู่บ่อย ๆ จะเกิดความเคยชินและไม่รู้สึกเคอะเขิน ด้วยเหตุว่ามารยาททั้งปวงเกิดขึ้นมาจากเหตุผลและถือปฏิบัติต่อ ๆ กันมาเพื่อความสวยงามเรียบร้อยทั้งนั้น แม้ว่าในปัจจุบันกฎหรือระเบียบและมารยาทโบราณรวมทั้งความหรูหราฟุ้งเฟ้อได้ถูกละทิ้งลงไปมากแล้ว แต่ยังคงมีมารยาทที่จำเป็นเหลือยู่ให้ต้องปฏิบัติตามอีกมากมาย การไปร่วมงานเลี้ยงนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ หมั่นสังเกตคนอื่นรอบ ๆ ตัวเรา และคอยสังเกตตนเองอยู่เสมอว่าตัวเราทำอะไรผิดแผกแตกต่างจากคนอื่นหรือเปล่า ทั้งนี้เพื่อเราจะได้ไม่กลายเป็นตัวตลกไปโดยไม่รู้ตัว

การเลี้ยงรับรองมีอยู่หลายประเภทหลายรูปแบบ แต่ทุกงานมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันคือให้ความสุขสำราญแก่แขก ต่างฝ่ายต่างจะได้รับเกียรติจากกันและกัน แต่การเลี้ยงของชาวตางประเทศมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกันอยู่ตามขนาดความสำคัญ แบบพิธีและความเหมาะสมแก่สถานการณ์และโอกาส ในบรรดางานเลี้ยงรับรองทั้งหลายนั้น งานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นงานที่มีความสำคัญ ประณีตและถือเป็นเกียรติสูงสุดสำหรับผู้รับเชิญเป็นแขก

การเลี้ยงอาหารค่ำแบบนั่งโต๊ะ (Seating Dinner)

การเลี้ยงอาหารค่ำแบบนั่งโต๊ะเป็นงานที่ถือว่าให้เกียรติ และแสดงอัธยาศัยที่น่าพึงพอใจมากที่สุดเพราะเจ้าภาพมีโอกาสให้ความสุขแก่แขกของตนได้มากมายหลายวิธี ภายในระยะเวลาที่ยาวนานกว่าการเลี้ยงด้วยวิธีอื่น แขกที่มาร่วมงานก็ได้สนทนาปราศรัยได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องรีบไปงานอื่นอีก

งานเลี้ยงอาหารค่ำอาจจัดได้เป็นงานเลี้ยงแบบพิธี (formal) และไม่เป็นแบบพิธี (informal) เจ้าภาพอาจมีคนเดียวหรือเป็นคู่ อาหารและการบริการอาจแตกต่างกันไปสำหรับงานแต่ละงาน แต่จะมีมาตรฐานที่จะต้องปฏิบัติไม่มากน้อยกว่ากันเท่าใดนัก ถือได้ว่าเป็นการเลี้ยงรับรองที่มีวิธีการ อุปกรณ์ แบบพิธีและมารยาทสูงกว่าการเลี้ยงรับรองแบบอื่น ๆ ทั้งหมด สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทราบสำหรับการจัดเลี้ยงและการไปในงานเลี้ยงอาหารค่ำมีย่อๆดังนี้

เวลา (Timing) ปรกติอาหารค่ำจะเริ่มเข้านั่งโต๊ะระหว่างเวลา 20.00 -21.00 น. บัตรเชิญจะระบุเวลาที่แขกจะต้องมาถึงงานราวครึ่งชั่วโมงล่วงหน้า เช่น ระบุว่าเวลา 20.00 น.สำหรับการเลี้ยงจะเริ่มเข้านั่งโต๊ะเวลา 20.30 น. แต่บางงานอาจระบุว่า 20.00 for 21.00 hrs. ซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือ ให้แขกไปถึงงานเวลา 20.00 น. เพื่อการเข้านั่งโต๊ะ เวลา 20.30 น. แขกอาจมาช้ากว่าเวลานั้นได้ราว 15-20 นาที แต่ถ้าระบุเวลาเริ่มเข้านั่งโต๊ะไว้ชัดเจนแล้ว แขกควรมาถึงงานอย่างช้าที่สุด 10 นาทีก่อนเวลานั่งโต๊ะ แต่หากแขกมาถึงงานก่อนเวลาที่ระบุไว้ (ตามตัวอย่างคือ 20.00 น.) ถือเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ถ้ามาถึงงานช้ากว่าเวลาที่เข้านั่งโต๊ะถือว่าเป็นการทำผิด เพราะจะก่อความยุ่งยากมากมายให้แก่ทุกฝ่ายในงาน ทางที่ดีแล้วหากมาช้ามากจนเขาเริ่มรับประทานอาหารจานแรกแล้ว โดยไม่ได้บอกกล่าวถึงเหตุของความล่าช้านั้น ก็ไม่ควรเข้ามาในงานเสียเลย

จำนวนแขก (Numbers of guest) จำนวนแขกขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าภาพและขนาดของสถานที่ที่จัดงาน การเลือกแขกที่มาร่วมงานเป็นเรื่องสำคัญ จำนวนแขกและลักษณะของแขกที่เลือกสรรมาอย่างดีย่อมจะทำให้แขกทุกคนมีคู่สนทนาที่เหมาะสมและถูกใจกันได้ ถ้ามีผู้ร่วมโต๊ะไม่เกิน 6 คน เจ้าภาพควรนั่งหัวโต๊ะ หากเกินกว่า 6 คน เจ้าภาพควรนั่งกลางโต๊ะ งานเลี้ยงที่เป็นแบบพิธีต้องมีผู้ร่วมโต๊ะไม่น้อยกว่า 16 คน ซึ่งเป็นมาตรฐานน้อยที่สุดสำหรับการจัดงาน

การเชิญ (Invitations) การเชิญสำหรับงานเลี้ยงอาหารค่ำอาจทำเป็นหนังสือเชิญ ส่งบัตรเชิญหรือโทรศัพท์ ถ้าเชิญทางโทรศัพท์ต้องส่งบัตร "To Remind" ตามไปทันที บัตรเชิญที่เป็นแบบพิมพ์จะต้องเขียนชื่อผู้ได้รับเชิญด้วยลายมือเสมอ และถือว่างานเลี้ยงที่ออกบัตรเชิญเป็นงานที่เป็นแบบพิธีอยู่แล้ว แต่ถ้าประสงค์จะให้แขกแต่งกาย "Black tie" ก็จะต้องระบุลงไปให้ชัดเจน มิฉะนั้นแขกอาจจะแต่งกาย "Dark Suit" มาร่วมงานได้ ควรส่งบัตรเชิญล่วงหน้าประมาณ 3 สัปดาห์และอย่างช้าไม่น้อยกว่า 10 วันเพื่อจะได้มีเวลาให้แขกตอบรับและเชิญแขกเพิ่มหากจำเป็น เมื่อได้รับเชิญไปร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ ต้องตอบทันทีไม่ว่าจะรับหรือปฏิเสธและเมื่อตอบรับแล้วจะบอกเลิกได้ต่อเมื่อมีเหตุขัดข้องที่สำคัญเกิดขึ้นเท่านั้น ในบัตรเชิญอาจจะเขียนไว้ที่มุมด้านซ้ายว่าให้แต่งกายอย่างไร มุมด้านขวาอาจจะเขียนว่าจะให้ตอบอย่างไรหรือไม่ เช่นเขียนว่า R.S.V.P.เป็นต้น ซึ่งผู้รับเชิญต้องตอบในเวลาอันสมควรว่าจะไปร่วมงานได้หรือไม่ หรือเขียนว่า "Regrets only" ซึ่งหมายความว่าถ้ารับเชิญไม่ได้จึงจะตอบขัดข้องไปให้เจ้าภาพทราบ ถัดลงไปจากหรือ Regrets only ให้แจ้งสถานที่รับคำตอบและหมายเลขโทรศัพท์ที่ผู้รับเชิญจะต้องตอบให้ทราบ

อักษรย่อที่ใช้ในการเขียนนามบัตรหรือบัตรเชิญ

  • เพื่อขอบคุณ p.r. = pour remercier
  • เพื่ออวยพรหรือแสดงความยินดี p.f. = pour fete (feliciter)
  • š เพื่อแสดงความรู้จัก p.f.c. = pour faire connaissence
  • š เพื่ออวยพรปีใหม่ p.f.n.a. = pour fete du nouvel an
  • š เพื่อลา p.p.c. = pour prendre conge
  • š เพื่อแสดงความเสียใจ p.c. = pour condoleance
  • š เพื่อแนะนำตนเอง p.p. = pour presentation

ท้ายบัตรเชิญ ใช้คำว่า

  • กรุณาตอบด้วย R.S.V.P. = Repondez s'il vous plait
  • š ขัดข้องโปรดตอบ = Regrets only

เตรียมการแต่งกายให้เหมาะ (Grooming & Dress)

ในงาน Cocktailจะเหมาะกับราตรีสั้นแล้วเครื่องประดับเล็กๆพอสมตัว แต่ถ้าเป็นงานเลี้ยง Dinner ในที่หรูหราก็ต้องราตรียาว พร้อมเครื่องประดับชุดใหญ่ แต่ถ้างานไหนมีการระบุเครื่องแต่งกาย เช่น อาจกำหนด Theme เป็นงาน สวยสง่าไทยก็ควรแต่งผ้าไทยไปตามบัตรเชิญด้วยจะได้ไม่รู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกอยู่คนเดียว และควรดูว่ามีการระบุเรื่องการแต่งกายเอาไว้หรือไม่ เช่น

  • Casual หรือแต่งตามสบาย
  • smart casual ตามสบายกึ่งเนี้ยบ
  • š smart แต่งแบบเนี้ยบ
  • š formal แต่ งสากลมีพิธีรีตอง

ซึ่งโดยกติกาสากลทั่วไปนั้น หากมีการออกบัตรเชิญ ก็จะต้องระบุการแต่งกายเอาไว้ด้วย เพื่อที่ผู้ได้รับเชิญจะได้ทราบว่า ควรแต่งตัวอย่างไร

หลักการง่ายๆ ของการแต่งกายไปงานเลี้ยงสำหรับสุภาพสตรีก็คือ

1. สวยงาม สมกับบุคลิกภาพ รูปร่าง และตำแหน่งหน้าที่

2. ให้เกียรติแก่ผู้จัดงานและสถานที่จัดงาน

หากเป็นงานเลี้ยงกลางวัน หรืองานที่ระบุว่าแต่งกายแบบ Smart ไปจนถึง Formal แบบไทยๆ อาจเลือกกระโปรง หรือกางเกงก็ได้ โดยจะเลือกแบบ เป็ นชุดหรือแยกชิ้นก็ได้
โดยทั่วไปแล้วชุดสุภาพสตรีสําหรับงานกลางวันนั้น จะดูสง่าและเบา เรื่องเครื่องประดับ

เครื่องแต่งหน้าแต่งผมต้องน้อยกว่างานกลางคืน คือแต่งแบบสวยใสในแสงกลางวัน อย่าแต่งหน้าเข้มจนเกินไป และอย่าใส่เครื่องประดับวูบวาบมาก ในงาน สุภาพสตรีที่มีอาชีพการงาน หรือเป็นนักบริหาร อาจสวมเสื้อผ้าชุดทํางานกึ่งๆ Business suit ไปงานกลางวัน ก็ไม่ได้ดูน่าเกลียดอะไร

ส่วนงานกลางคืนนั้นควรจะเป็นชุดราตรี หลักการเลือกชุดราตรีนั้น ง่ายที่สุดคือ เลือกจากรูปร่าง สีผิว และแบบที่ทำให้คล่องตัวและรู้สึกมั่นใจมากที่สุด หากเป็นคนรูปร่างดี ผ้าเนื้อบางเบา พลิ้ว และออกไปทางมันระยับก็เหมาะสำหรับท้าแสงไฟและสายตาผู้คนในยามราตรี มีเครื่องประดับที่จะส่องประกายล้อแสงไฟสักชิ้นเล็กๆ เช่น ต่างหู และสร้อยคอ หรือสร้อยข้อมือก็เพียงพอ

หากรูปร่างไม่ดี ท้วม หรืออ้วน อย่าสวมชุดรัดรูป และอย่าเลือกเนื้อผ้านิ่ม หนัก แต่ให้เลือกผ้าที่อยู่ทรงโดยตัวของมันเอง ใช้ลายตรงหรือลายดอกเล็กๆ เข้าช่วย และอย่าเน้นช่วงเอวมาก และหากสถานที่จัดงานเครื่องปรับอากาศ ให้เตรียมผ้าคลุมไหล่หรือผ้าพันคอที่เข้าชุดกันติดไป

ส่วนการแต่งกายไปงานเลี้ยงสำหรับสุภาพบุรุษชุดสูทดูจะเหมาะสมที่สุด การแบ่งตามประเภทของการใช้งานนั้น ก็จะมีคำว่า สูทกลางวัน และ สูทกลางคืน สูทกลางวัน หรือที่เรียกว่า Lounge Suit เหมาะกับโอกาสที่ไม่มีพิธีการมากนัก เหมาะกับหนุ่มที่ต้องการความคล่องตัวและดูดีในขณะเดียวกัน สามารถใส่ไปติดต่อทางธุรกิจที่ไม่มีพิธีรีตองมากและยังเหมาะกับการเลี้ยงรับประทานอาหารมื้อเที่ยงแบบเป็นกันเองอีกด้วย มักนิยมใช้ผ้าสีอ่อน เช่น สำน้ำตาลอ่อน สีเทาอ่อน และสีอ่อนอื่น ๆ เพื่อให้ดูเป็นกันเอง ส่วนสูทกลางคืนนั้นทั่วๆ ไปก็บังคับด้วยรูปแบบของงานเอาไว้แล้ว เช่น สูทสำหรับงานเต้นรำ ทักซิโด ฯลฯ

การเข้าห้องรับประทานอาหาร (In the dining room) เจ้าภาพหญิงจะเป็นผู้เดินนำเข้าไปในห้องรับประทานอาหาร เจ้าภาพชายเข้าห้องรับประทานอาหารเป็นคนสุดท้าย ในบางครั้งเจ้าภาพหญิงอาจยืนอยู่ในห้องรับประทานอาหารเลยประตูทางเข้าเล็กน้อย และชี้เชิญให้แขกทราบถึงที่นั่งของตน แต่ตามปกติเจ้าภาพหญิงมักจะเข้าไปยืนอยู่หลังที่นั่งของตน แล้วบอกให้ไปทางซ้ายมือหรือทางขวามือของโต๊ะและตำแหน่งที่นั่งของแขกแต่ละคน โดยแขกผู้ชายมีหน้าที่เลื่อนเก้าอี้ให้แก่สุภาพสตรีที่อยู่ทางขวามือของตน

มารยาทบนโต๊ะอาหาร


ในขณะที่เราไปร่วมงานเลี้ยงและรับประทานอาหารอยู่ เราต้องรับประทานและดื่มอย่างสำรวมด้วยอาการสงบและเรียบร้อย อย่าพูดในขณะที่มีอาหารอยู่เต็มปาก อย่าทำให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นคนตะกละเป็นอันขาด และรับประทานช้าจนคนอื่น ๆ ต้องคอยเราเพียงคนเดียว ถ้าพบอาหารที่ไม่รู้จักและไม่รู้วิธีรับประทาน มีทางออกอยู่ 2 วิธีคือดูว่าคนอื่น ๆ รับประทานกันอย่างไร หรือบอกไปตรง ๆ ว่าเราไม่ทราบวิธีรับประทานอย่าไปเกรงกลัวว่าจะมีคนตำหนิสิ่งที่เราไม่รู้ เขากลับจะยินดีแนะนำให้เราทราบวิธีรับประทานที่ถูกต้องให้เราได้

ควรเริ่มรับประทานอาหารตอนไหน ควรเริ่มรับประทานอาหารหลังจากที่ได้รับบริการอาหาร แต่ควรสังเกตแขกคนอื่น ๆ ด้วยว่าได้รับกันทั่วถึงหรือยัง มิใช่ว่าเมื่อเราได้รับการบริการแล้วรีบลงมือรับประทานทันที จะเป็นการเสียมารยาทและผู้ร่วมโต๊ะอาหารคนอื่น อาจมองเป็นคนตะกละตะกรามไปได้ โดยปกติเจ้าภาพฝ่ายหญิงมักจะเป็นผู้กล่าวเชิญชวนให้แขกร่วมโต๊ะทุกคนลงมือรับประทานอาหารได้ และผู้ที่จะเริ่มลงมืรับประทานเป็นคนแรกควรเป็นแขกเกียรติยศของงาน ผู้ร่วมโต๊ะคนอื่นจึงลงมือรับประทานตาม

การสนทนาในโต๊ะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำที่ใหญ่หรือเล็กก็ตาม เป็นพิธีการหรือไม่เป็นพิธีการ ทุกคนมีหน้าที่จะต้องสนทนากับบุคคลที่นั่งอยู่ทั้งสองข้าง แม้แขกบางคนจะมีความเขินอายเพียงใดก็ยังจำเป็นต้องร่วมสนทนากับบุคคลที่อยู่รอบตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การนั่งรับประทานอาหารเงียบ ๆ โดยไม่สนทนากับผู้ใดในโต๊ะถือเป็นการไม่สุภาพ ท่านควรสนทนากับผู้ที่นั่งเคียงข้าง ให้เท่าเทียมกันทั้งสองข้าง เพราะการสนทนากับแขกเพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวนับเป็นการขาดมารยาทอย่างยิ่ง

มารยาทในการรับประทานอาหาร

  • š อย่าเคี้ยวเร็วเกินไปหรือรีบรับประทาน
  • š อย่าเคี้ยวอาหารคำใหญ่เกินไป จนเกิดเสียงดังเวลารับประทาน
  • š ไม่ตั้งหน้าตั้งตารับประทานแต่อย่างเดียว ควรจะเว้นระยะฟังและสนทนาโต้ตอบคนข้างเคียงบ้า
  • š เมื่อพูดหรือโต้ตอบคู่สนทนา ควรเคี้ยวอาหารและกลืนอาหารให้เรียบร้อยเสียก่อน ไม่ควรพูดในขณะที่มีอาหารเต็มปาก
  • š ไม่ดื่มเครื่องดื่มในขณะที่มีอาหารอยู่เต็มปาก การดื่มไวน์ควรจิบเพียงเล็กน้อยก่อน แล้วจึงรับประทานอาหารตาม
  • š อย่าอ้าปากในขณะที่มีอาหารอยู่เต็มปาก ถึงแม้ผู้ที่นั่งอยู่ข้างเคียงจะสนทนาด้วย หันหน้าไปหารีบเคี้ยวและกลืนอาหารเสียก่อนที่จะสนทนาด้วย
  • š ในระหว่างรับประทานอาหาร ห้ามใช้มือเขี่ยอาหารใส่ช้อน ควรใช้ส้อมหรือมีดช่วยเท่านั้น
  • š อย่าใช้ขนมปังจุ่มลงในถ้วยซุป ให้แช่ลงไปทั้งแผ่น แล้วใช้ส้อมจิ้มขึ้นมาใส่จาน ไม่จิ้มรับประทานแบบเดียวกับจิ้มน้ำพริก
  • š อย่านั่งเอาหัวไหล่ค่อมจานอาหารหรือนั่งยื่นศีรษะไปบนโต๊ะอาหารมากเกินไป ให้นำอาหารเข้าหาปาก มิใช่ก้มปากลงไปหาอาหาร
ขนมปังและเนย ขนมปังที่นำมาเสิร์ฟในอาหารมื้อค่ำจะเป็นลักษณะก้อนกลม เปลือกแข็ง ดังนั้นจึงควรใช้มือบิออกเพียงพอดีคำ แล้วใช้มีดเนย ป้ายเนยจากจานใส่เนยทาลงบนขนมปัง วางมีดป้ายเนยลง ส่งขนมปังคำเล็ก ๆ นี้เข้าปาก และต้องรับประทานทีละคำโดยไม่ฉีกขนมปังเตรียมไว้ เป็นคำ ๆ ในจานป็นอันขาด ข้อสำคัญที่พึงระวังคือไม่ใช้มีดตัดหั่น แบ่งออกเป็นชิ้น ๆ โดยเด็ดขาด มีข้อยกเว้นเพียงประการเดียวคือการรับประทานขนมปังแบบอังกฤษ หรือขนมปังแซนด์วิช (English หรือ Sandwich Bread) ใช้มีดตัดแบ่งได้

การใช้มีด ส้อมและช้อน การใช้มีดและส้อมควรใช้คู่กัน โดยใช้มีดหั่น ส่วนส้อมช่วยตะล่อมอาหารและจิ้มอาหารเข้าปาก วิธีใช้มีอยู่สองวิธีคือ

แบบยุโรป ผู้รับประทานอาหารจะไม่วางมีด โดยมือขวามือถือมีด มือซ้ายถือส้อม เมื่อใช้มีดหั่นอาหารแล้ว ใช้ใบมีดกันอาหารแล้วใช้ส้อมจิ้มลงไปที่ชิ้นเนื้อที่หั่นแล้ว นำชิ้นเนื้อเข้าปากด้วยมือซ้ายโดยส้อมจะต้องคว่ำลงในขณะส่งอาหารเข้าปาก การรับประทานอาหารแบบยุโรปนี้จะไม่มีการเปลี่ยนมือในการจับมีดหรือส้อม หากมีผู้สนทนาด้วยจึงจะวางมีดและส้อมไว้บนจานในลักษณะคว่ำส้อมลงคมมีดหันเข้าในจาน เมื่อรับประทานเสร็จแล้วให้รวบมีดและส้อมคู่กันโดยวางส้อมหงาย การรวบมีดและส้อมนี้ให้วางคู่กันในลักษณะห้าโมงเย็น หรือหกโมงเย็น

แบบอเมริกัน ถือมีดด้วยมือขวา ส้อมในมือซ้าย ส้อมจะช่วยในการหั่น เมื่อหั่นเนื้อออกเป็นชิ้นเรียบร้อยแล้ววางมีดที่ถือในมือขวาลงบนจาน เปลี่ยนมือขวาไปหยิบส้อม แล้วใช้มือขวานี้จิ้มชิ้นเนื้อเข้าปาก การรับประทานอาหารด้วยวิธีนี้ ของชาวอเมริกันถือเป็นเรื่องปรกติ เพียงแต่ว่าในโอกาสที่ค่อนข้างเป็นทางการ ไม่ควรหั่นแบ่งชิ้นเนื้อออกเป็นหลาย ๆ ชิ้น แล้วใช้ส้อมจิ้มเข้าปาก เพราะนั่นเป็นกิริยาอาการของเด็ก สำหรับมีดที่ใช้สำหรับทาเนยหรือแยม เมื่อป้ายเสร็จแล้วให้วางไว้ที่เดิม คือบนจานขนมปังการรับประทานขนมปังนั้น ให้ฉีกออกเป็นชิ้นพอดีพอคำ ใช้มีดป้ายเนยทาเนยลงบนขนมปัง วางมีดลง นำขนมปังเข้าปากเป็นคำๆ ไป

การใช้ช้อนซุป
1. การใช้ช้อนซุปที่เป็นลักษณะกลมให้ตักออกนอกตัวและจิบซุปจากข้าง ๆ ช้อน โดยไม่เป่า การตักซุปออกนอกตัวผู้รับประทานนั้น ใช้วิธีการนี้กับการตักซุปและกับช้อนที่มีลักษณะกลมเท่านั้น ส่วนช้อนรูปทรงอื่น ใช้ตักเข้าหาตัวได้ตามปกติ

2. หากเป็นช้อนรูปไข่ปลายมน ไม่จำเป็นต้องตักออกนอกตัวใช้ตักได้ตามปรกติ มีข้อแตกต่างเล็กน้อยระหว่างช้อนซุปลักษณะกลม แต่เดิมนั้นช้อนกลมใช้ตักซุปที่เสิร์ฟมาในชามซุป (Soup plate) และช้อนปลายมนหรือรูปไข่ (Oval shape) จะใช้ในการเสิร์ฟซุปที่ใส่มาในถ้วยสองหู แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้ช้อนรูปทรงกลมมากกว่ารูปทรงอื่นในการรับประทานซุปอาหารบางชนิดที่รับประทานด้วยมือ อาหารบางชนิดชาวยุโรปสามารถหยิบรับประทานด้วยมือได้โดยไม่ต้องใช้มีดหรือส้อม

นอกจากขนมปังแล้วอาหารอื่น ๆ เช่น เอแคลร์ คุ้กกี้ เค้กชิ้นเล็กที่ไม่มีการแต่งหน้าด้วยครีม แซนด์วิชบางชนิด ฮอตดอก หากเป็นแซนด์วิชที่ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ใช้ส้อมกับมีด ผลไม้สดที่เป็นผลเล็ก ๆ เช่น องุ่น ดั้งเดิมใช้กรรไกรตัดแล้วหยิบรับประทานทีละลูก กล้วย ส้ม หากเสิร์ฟมาในจานเป็นลูกต้องใช้มีดส้อมตัดเปลือกเสียก่อนจึงจะรับประทานได้ ผลไม้ที่มีเมล็ดเมื่อรับประทานเสร็จแล้วต้องค่อยๆ คายเมล็ดออกใส่กรวยฝ่ามือหรือ กระดาษเช็ดมือห่อเอาไว้ อย่าวางเศษของผลไม้ที่คายออกมาจากปากให้ผู้ร่วมโต๊ะคนอื่น ๆ เห็น

หัวเรื่องในการสนทนา ในสมัยก่อนถือกันว่าหัวข้อที่ไม่ควรนำมาสนทนาในงานสังคมมีอยู่ 4 เรื่อง คือเรื่องเกี่ยวกับคนรับใช้ ความป่วยไข้ ศาสนา และการเมือง เพราะถือเป็นทั้งเรื่องไม่สุภาพและเป็นการเสียงต่อการผิดใจระหว่างคู่สนทนา เรื่องต้องห้ามอย่างเข้มงวดในการสนทนาในวงการต่าง ๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องเพศ แต่ในปัจจุบันข้อห้ามเหล่านี้ผ่อนคลายลงไปมาก ควรยึดถือว่าไม่ว่าจะสนทนาเรื่องอันใดจะต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือนใจคู่ในวงสนทนาเป็นอันขาด เจ้าภาพฝ่ายชายและหญิงจะต้องคอยสังเกตอยู่เสมอว่าหากการสนทนาเริ่มจะรุนแรงขึ้นมาเมื่อใดจะต้องรีบแก้ไขสถานการณ์โดยพยายามชักชวนไปสนทนาเรื่องอื่นเสีย แต่ต้องทำอย่างสุภาพไม่เป็นการขัดคอโดยตรงหรือใช้อารมณ์ขันเข้าช่วยในการเปลี่ยนเรื่อง

การปฏิเสธอาหาร แม้ว่าการปฏิเสธอาหารเป็นการไม่สุภาพ แต่หากท่านมีเหตุผลเพียงพอหรือสำคัญมากก็อาจกระทำได้ เช่นเป็นโรคแพ้อาหารบางอย่าง ที่เจ้าภาพนำมาเลี้ยง แต่ในบางครั้งอาจรักษามารยาทและรักษาน้ำใจเจ้าภาพ โดยการตักอาหารมาเพียงเล็กน้อยแล้วไม่ต้องรับประทานหรือเลือกส่วนที่พอจะรับประทานได้

การปฏิเสธเครื่องดื่ม สำหรับไวน์อาจปฏิเสธได้ตรง ๆ หรืออาจยกมือขึ้นใช้นิ้วแตะปากแก้วไวน์ขณะที่พนักงานบริการกำลังจะรินไวน์ให้ท่าน แต่ถ้าเจ้าภาพรินให้เองเราต้องปฏิเสธด้วยวาจาอย่างสุภาพพร้อมกับกล่าวคำขอบคุณ หากท่านประสงค์จะได้น้ำดื่มก็ขอได้ ไม่เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด แต่ไม่บังควรใช้มือหยิบแก้วหรือถ้วยเครื่องดื่มเช่นถ้วยกาแฟหรือชาคว่ำลงกับโต๊ะหรือจานรองเป็นอันขาด

การสูบบุหรี่ ไม่ควรสูบบุหรี่ในโต๊ะอาหาร นอกจากเมื่อเจ้าภาพนำขึ้นก่อนหรือเชื้อเชิญ แต่ก็ควรขออนุญาตผู้ที่นั่งอยู่ทั้งสองข้าง โดยเฉพาะหากผู้นั่งข้าง ๆ เป็นสุภาพสตรี และไม่ควรลืมที่จะเสนอบุหรี่ให้แก่ผู้ที่นั่งข้าง ๆ ก่อนสูบบุหรี่

หลังการรับประทานอาหาร หลังจากเสร็จสิ้นการรับประทานอาหาร เจ้าภาพหญิงจะนำผ้าเช็ดปากขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะเป็นสัญญาณ และเชิญแขกที่ร่วมโต๊ะให้เข้าไปนั่งในห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น เจ้าภาพหญิงอาจเชิญเฉพาะแขกผู้หญิงออกไป โดยปล่อยให้เจ้าภาพชายอยูกับแขกชายตามลำพังที่โต๊ะก็ได้ การจัดเลี้ยงอาหารที่โรงแรมหรือภัตตาคาร เจ้าภาพมักให้จัดเสิร์ฟกาแฟหรือชาและเหล้าหลังอาหาร(Liqueurs) ที่โต๊ะอาหารพร้อมกันทั้งหญิงและชาย แต่ถ้าจัดในบ้านอาจเชิญแขกไปนั่งในห้องอื่นที่สะดวกสบายกว่าและสะดวกแก่การสนทนา แต่หากสถานที่จำกัดก็เสิร์ฟกาแฟและหล้าหลังอาหารที่โต๊ะรับประทานอาหารได้

กาแฟ กาแฟในโต๊ะอาหารหรือในห้องรับแขก หลักการเสิร์ฟจะปฏิบัติในทำนองเดียวกัน คือพนักงานจะนำกากาแฟหรือชามาให้เลือก เสิร์ฟให้ในถ้วยเล็กถ้าเป็นกาแฟ เรียกว่าถ้วย Demi-tasse โดยมีน้ำตาลและครีมให้แขกเลือกเติมเอง

การเสิร์ฟสุราหลังอาหาร บรั่นดีหรือลิเคียว จะนำมาเสิร์ฟเมื่อเสิร์ฟกาแฟเสร็จ พนักงานจะนำรถเข็นเหล้าหรือนำใส่มาในถาดก็ได้ ถามความประสงค์ของแขกว่าจะเลือกบรั่นดีหรือลิเคียวประเภทใด พนักงานจะรินสุราลงในแก้ว แขกหยิบแก้วมาดื่มเพียงเล็กน้อยสลับกับการดื่มกาแฟหรือหลังจากดื่มกาแฟเสร็จก็ได้ แขกจะปฏิเสธสุราหลังอาหารก็ไม่เป็นการเสียมารยาท แต่ต้องไม่เรียกหาเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ อีก

งานเลิก โดยทั่วไปงานเลี้ยงอาหารค่ำจะเลิกระหว่าง 23.00-24.00 น. แต่อาจเลิกก่อนหรือหลังจากนั้นก็ได้ตามความเหมาะสม แขกควรจะลาเจ้าภาพในตอนไหน ขอให้สังเกตบรรยากาศรอบ ๆ ของงาน อย่ารีบลาเจ้าภาพในขณะที่งานกำลังดำเนินไปด้วยความสนุกสนาน เพราะจะเป็นการทำให้งานนั้นหยุดชะงักและอาจถึงกับเลิกงานได้ แต่ก็อย่าอยู่จนดึกเกินไป ยกเว้นเมื่อเจ้าภาพขอร้องให้อยู่ต่อในเชิงบังคับกลาย ๆ เมื่อแขกลากลับ เจ้าภาพจะต้องตามไปส่งที่ประตูบ้าน แขกควรขอบคุณเจ้าภาพก่อนลา

การขอบคุณ ผู้ได้รับเชิญต้องมีหนังสือขอบคุณส่งไปแสดงความ ขอบคุณ โดยส่งไปถึงเจ้าภาพฝ่ายหญิง ถ้าสนิทสนมกันมากอาจใช้วิธีโทรศัพท์ไปขอบคุณแทนได้

การแนะนำคนให้รู้จักกัน

1. ต้องแนะนำชายแก่หญิง

2. เพศเดียวกันต้องแนะนำผู้น้อยให้ผู้ใหญ่รู้จัก

3. ต้องขออนุญาตหญิงก่อนที่จะแนะนำชายให้หญิงนั้นรู้จัก

4. หญิงต้องไม่ยื่นมือให้จับเมื่อได้รับการแนะนำชายให้รู้จัก นอกจากเป็นเจ้าภาพหญิง แค่โค้งคำนับกันก็พอ

5. ควรแนะนำพร้อมด้วยบอกคุณสมบัติพิเศษที่ทั้งสองฝ่ายอาจถูกใจกัน เช่นเป็นคนชอบต้นไม้ด้วยกัน

6. การได้รับเชิญไปยังบ้านใดบ้านหนึ่งพร้อมกัน แม้ไม่ได้รับการแนะนำก็ถือว่าทำความรู้จักกันได้โดยตนเอง เพราะเจ้าภาพย่อมเป็นประกันได้ว่าทั้งสองฝ่ายเป็นคนดี

7. ในงานที่มีการเต้นรำ เจ้าบ้านหญิงสามารถแนะนำชายให้หญิงรู้จักกันได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหญิงก่อนล่วงหน้า

8. เพื่อนอาจแนะนำเพื่อที่ไปพบกันในบ้านที่คุ้นกันได้ แต่ทางที่ดี ให้เจ้าบ้านหญิงเป็นผู้แนะนำดีกว่า

9. ในงานปาร์ตี้เล็ก ๆ แขกอาจได้รับการแนะนำให้รู้จักกันโดยเรียกเพียงชื่อ แต่ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเป็นแบบพิธีต้องแนะนำด้วยชื่อสกุล

10. ถ้าไปในงานแล้วมีการประกาศ(แนะนำ) โดยใช้ชื่อผิด หรือการประกาศไม่ได้ยินเสียง เพราะเสียงอื่นกลบเสียงหรือเพราะเหตุอื่นใด ท่านสามารถแจ้งให้เจ้าภาพหญิงทราบและแก้ไขให้เรียบร้อยโดยแนะนำตนเองโดยชื่อตัว การกระทำดังนี้ต้องทำอย่างง่าย ๆ และมีการเอ่ยถึงฐานันดรอย่างน้อยที่สุด

ธรรมเนียมนิยมของชนชาติต่าง ๆ

1. การสัมผัสมือ ชาวอาหรับ ชาวสเปนหรืออเมริกาใต้ และชาวกรีซ นิยมสัมผัสมือหลาย ๆ ครั้งระหว่างพบปะสนทนากัน ชาวฝรั่งเศสจะสัมผัสมือเพียงเบาและรวดเร็ว และไม่นิยมสัมผัสมือกับผู้อาวุโสกว่า ชาวเยอรมันนิยมสัมผัสมือกับทุกคนทั้งเมื่อแรกพบและลาจากกัน และในการสนทนาทั่วไปที่ไม่เป็นทางการนั้น สุภาพบุรุษจะสัมผัสมือกับสุภาพสตรีได้ต่อเมื่อได้สัมผัสมือผู้อาวุโสในงานนั้นแล้ว
2.
ระยะห่างของคู่สนทนา ชาวอเมริกันจะยืนสนทนาห่างกันประมาณ 1 ฟุต ถึง 3 ฟุต ชาวสเปนหรือละตินอเมริกัน และชาวตะวันออกกลางจะยืนสนทนากันอย่างใกล้ชิด แต่ชาวเอเชียและอาฟริกันจะเว้นระยะห่างจากกันมาก เช่นเดียวกันกับการยืนสนทนากับสุภาพสตรี

3. การสัมผัส การสนทนาโดยทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแตะต้อง ชาวมุสลิมถือว่ามือข้างซ้ายเป็นมือที่สกปรก ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสหรือแตะต้องด้วยมือข้างซ้าย

4. การสบสายตา ชาวตะวันออกกลาง ชาวสเปน และชาวยุโรปนิยมมองสบตาเมื่อสนทนากันชาวเอเชียโดยเฉพาะชาวญี๋ปุ่น การมองสบตาถือเป็นการไม่สุภาพก้าวร้าวและอาจทำให้คู่สนทนาไม่พอใจได้

5. การใช้มือ ชาวตะวันออกกลางและชาวตะวันออกไกลถือว่าการชี้นิ้วเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ การผายมือควรเป็นสิ่งที่ควรกระทำมากกว่า ขณะเดียวกันการยกหัวแม่มือขึ้นถือเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพสำหรับชาวออสเตรเลีย การใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ทำสัญลักษณ์เป็นวงกลมประเทศในแถบละตินอเมริกันถือเสมือนว่าเป็นการให้นิ้วกลางของชนอเมริกันในประเทศญี่ปุ่นหมายความว่า เงินทอง ในประเทศฝรั่งเศสหมายถึง ไร้สาระ

6. การนั่งไขว่ห้าง ชาวอาหรับถือว่าเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจมาก ที่นั่งยื่นเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้าต่อหน้าคู่สนทนา เท้าควรวางราบไปกับพื้นทั้งสองข้างจึงจะเป็นการสุภาพ

7. การให้นามบัตร การพิมพ์นามบัตร นามบัตรที่ดีไม่ควรพิมพ์อักษรย่อ ด้านหลังของบัตรควรพิมพ์รายละเอียดที่ติดต่อได้เป็นภาษาอังกฤษ การพิมพ์ยศหรือตำแหน่งเป็นเรื่องที่ควรกระทำเพราะจะเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้รับ เมื่อจะมอบนามบัตรให้ผู้ใดไม่ควรใช้มือซ้าย ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อจะมอบนามบัตรให้ใคร เป็นธรรมเนียมที่จะต้องถือด้วยมือทั้งสองข้างเมื่อจะมอบให้

8. การสนทนาด้วยเรื่องทั่ว ๆ ไป เป็นหัวข้อที่ควรกระทำก่อนสนทนาเรื่องของธุรกิจอย่างจริงจังชาวญี่ปุ่นถือเป็นธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติให้ความรู้สึกที่ดีโดยนิยมดื่มน้ำชากันก่อนวกเข้าหาเรื่องของธุรกิจต่อไป
9.
การสวมกอด การสวมกอดกันเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของชนประเทศแถบละตินอเมริกาและชาวสลาฟโดยทั่วไป เช่นชายกอดชาย หญิงกอดหญิง เป็นรูปแบบแสดงความยินดีต่อกันเปรียบได้กับการสัมผัสมือของชาวตะวันตก อย่างไรก็ตามธรรมเนียมดังกล่าวนี้หากเป็นชาวต่างชาติอื่น ๆ การจะกระทำกิริยาดังกล่าวต้องใคร่ครวญอย่างรอบคอบและดูความเหมาะสมด้วย

บทสรุปและข้อควรจำ

š เมื่อเข้าไปที่โต๊ะอาหาร สุภาพบุรุษควรดึงเก้าอี้ให้สุภาพสตรี แล้วคลี่ผ้าเช็ดปากบนโต๊ะให้สุภาพสตรีด้วย การคลี่ผ้าเช็ดปากให้วางบนตัก โดยพับเป็นสองท่อนเอาชายผ้าเข้าหาตัว แล้วใช้เช็ดปากจากด้านในเพื่อไม่ให้คนข้างๆ เห็นรอยเลอะอาหารหรือร่องรอยลิปสติก

š แล้วเมื่อต้องลุกจากโต๊ะ ระหว่างรับประทานอาหารผ้าเช็ดปากนั้นให้วางลงบนเก้าอี้หรือพนักวางแขน เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ให้เอาผ้าวางบนโต๊ะด้านขวา

š ควรนั่งอย่างสบาย ตัวตรง ไม่ก้มหน้า ให้ดึงเก้าอี้เข้าหาโต๊ะ และไม่ไขว่ห้าง ไม่นั่งเท้าแขน เอามือวางบนตัก และไม่ควรประแป้งหรือทาลิปสติกบนโต๊ะอาหาร* จำไว้ว่าจานขนมปังจะอยู่ทางซ้ายมือเสมอ (หากหยิบผิดกล่าวขอโทษ แล้วเปลี่ยนจานขนมปังได้)

š ขนมปังหยิบทานได้เลย ไม่ต้องรอให้เจ้าภาพบอก หากหมดแล้วขอใหม่ได้ วิธีรับประทานที่ถูกต้อง คือ บิขนมปังด้วยมือ แล้วทาเนยตรงชิ้นที่เข้าปาก และเมื่อใช้มีดป้ายขนมปังเสร็จแล้ว ต้องวางคืนไว้ที่จากขนมปัง ( ขนมปังรับประทานได้เรื่อยๆ จนกระทั่งจบเมนคอร์ส ถือเป็นอันสิ้นสุด)

š แก้วน้ำอยู่ทางขวามือ อย่าใช้ผิดจะผิดทั้งโต๊ะ

š ท่องเอาไว้ว่าใช้ช้อน ส้อม มีด จากด้านนอกสุดเข้าหาด้านในสุด

š การรับประทานซุปด้วยช้อนซุป ควรตักซุปออกจากตัว ทานซุปทางด้านข้างของช้อน และถ้าเป็นซุปใสใส่ถ้วยที่มีหู สามารถยกถ้วยดื่มได้เลย (ซุปข้นไม่ได้) และไม่ควรมีเสียงดัง และไม่ควรเอาขนมปังจิ้มซุป อย่าเด็ดขาด!

š ควรสนทนากับผู้นั่งข้างเคียงบ้าง แต่อย่าให้เสียงดัง เวลาสนทนาควรวางมีดกับส้อมบนจานเสียก่อน อย่าถือมีดหรือส้อมชี้ประกอบท่าทาง

š เวลารับประทานเนื้อ นิยมตัดรับประทานทีละชิ้น แบบอังกฤษ แต่แบบอเมริกันจะหั่นเนื้อจนหมด แล้ววางมีดไว้ด้านบนของจานแล้วเปลี่ยนถือส้อมด้วยมือขวาส่งอาหารเข้าปาก สำหรับในประเทศไทยนิยมแบบอังกฤษ

š เวลาหั่นอาหารหยิบส้อมขึ้นมา ให้คว่ำ แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้งโป้งจับไว้ที่คอมีด เพื่อจะได้ออกแรงหั่นได้ดี

š ถ้าเป็นอาหารที่เป็นเส้น เช่น พวกสปาเกตตี ให้ใช้ส้อมม้วนเส้น แล้วค่อยนำใส่ปากรับประทาน

š หากเสิร์ฟ ชอร์เบท (Sorbet) ไอศกรีมที่ไม่ใส่นม ไม่ใส่ครีม มีรสเปรี้ยวนำ เพื่อล้างปากก่อนอาหารจานต่อไป จะเสิร์ฟสำหรับงานพิธีการใหญ่ๆ ต้องเสิร์ฟ ถ้าเป็นงานปกติจะไม่เสิร์ฟ

š ไม่ควรเอื้อมหยิบของข้ามหน้าแขกท่านอื่นๆ ควรเรียกพนักงานบริการหยิบให้ ถ้าจำเป็นก็ขอร้องผู้รับเชิญที่อยู่ถัดไป ด้วยความสุภาพพร้อมขอบคุณ

š การรวบมีดกับส้อม หรือช้อนส้อม อังกฤษนิยมรวบไว้ตรงกลาง ตรงหน้า และหงายส้อม แต่อเมริกันนิยมรวบไว้ หัวจานเฉียงๆ

š ควรซับริมฝีปากด้วยผ้าเช็ดปากเสียก่อน การดื่มเครื่องดื่มต่างๆ

š อาหารของหวาน ให้ใช้ช้อน-ส้อมที่อยู่ด้านหน้า

š ถ้าเสิร์ฟชาหรือกาแฟ เมื่อผสมใช้ช้อนคนเสร็จแล้ว ให้เอาช้อนวางไว้ อย่าใช้ช้อนชิมเด็ดขาด

š และอย่าเผลอเอามีดจิ้มอาหารใส่ปากเด็ดขาด

š หากรับประทานที่มีกระดูก ให้ใช้ทิชชูปิดปากค่อยๆ คายออก หรือหากรับประทานอาหารที่มีก้างหรือกระดูกไก่ ซึ่งเมื่อใช้ช้อน-ส้อมเลาะเนื้อหมดแล้วนำกระดูกวางไว้ข้างๆ จานได้

š ไม่มีงานลี้ยงใดไม่มีเหล้า จึงมีการเสิร์ฟเครื่องดื่มตามชนิดของอาหารด้วย เช่น เสิร์ฟปลาและอาหารทะเลกับไวน์ขาว อาหารประเภทเนื้อหรือไก่ก็จะเสิร์ฟพร้อมไวน์แดง หรือไวน์โรเซ่ แชมเปญจะเสิร์ฟตอนท้ายสำหรับการดื่มอวยพร ถ้ามีการได้รับเชิญดื่มแชมเปญห้ามปฏิเสธเด็ดขาด ถือว่าเสียมารยาทมาก แต่ถ้าใครไม่ดื่มช่วงที่มีการดื่มอวยพร ให้ยกแก้วขึ้นจรดภายนอกริมฝีปาก โดยไม่ต้องเอาเข้าปาก

š ถ้าเสิร์ฟไวน์สามารถดื่มได้ตลอดจนจบงาน

š ในกรณีที่มีการเสิร์ฟผลไม้สด เจ้าภาพจะเตรียมมีดสำหรับผลไม้ไว้ให้ พร้อมจัดถ้วยใส่น้ำลอยด้วยดอกกุหลาบหรือกลีบกุหลาบไว้ให้สำหรับล้างปลายนิ้ว และต้องล้างมือทีละข้าง อย่าล้างทั้งสองมือ (ไม่สุภาพ) ซึ่งในการใช้ควรระมัดระวังอย่าให้หกเลอะเทอะ ใช้ผ้าเช็ดมือเช็ดมือให้เรียบร้อย พึงระวังว่าไม่ใช่น้ำดื่ม เพราะอาจพลาดหยิบขึ้นมาดื่มได้ ในกรณีที่ผลไม้ได้รับการปอกเปลือกเรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าภาพจะเสิร์ฟส้อมผลไม้แทน

š เมนูกระดาษรายการอาหารโดยมากมักจะพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส (ถ้าเป็นไทยล้วนก็ควรใช้ภาษาไทย) หลังจบงานเลี้ยงแล้ว นำกลับบ้านเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้